วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


วันที่  15-16  กุมภาพันธ์  2559   โครงการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 
การทำเตาชีวมวล   ณ  ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหัวเมือง
 ตำบลแงง  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  



 

 วันที่  17  กุมภาพันธ์  2559  
ร่วมเปิดศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (สศ.ปชต.) 
ณ หอประชุมอำเภอปัว   จังหวัดน่าน





  วันที่  25  กุมภาพันธ์  2559  
ร่วมโครงการแข่งขันกีฬา กศน.น่านเกมส์  ครั้งที่ 1 ประจำปี 2559 
ณ สนามกีฬากลางจังหวัดน่าน  อำเภอเมืองน่าน   จังหวัดน่าน

 
























วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมประจำเดือน มกราคม2559

วันที่  1  มกราคม  2559   ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ประจำปี 2559  ณ สวนสาธารณะเทศบาลตำบลปัว  อำเภอปัว   จังหวัดน่าน



                      




วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คณิตศาสตร์ ม.ปลาย เรื่องเซต


การจัดกิจกรรมการใน กศน.ตำบล



ภาพการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน






ภาพกิจกรรมการประเมิน กศน.ตำบลซึ่งมีชุมชนและภาคเครือข่ายเข้าร่วมการประเมิน กศน.ตำบล





เยี่ยมชมกลุ่มอาชีพ Best  Practice






ภาพกิจกรรมนักศึกษาและชุมชนร่วมแรงร่วมใจกันปูพื้นกระเบื้องซึ่งได้งบจากกระทรวงแรงงานโดยการประสานงานของผู้นำชุมชน ท่านผู้ใหญ่บ้านนายอินเขียน  ยาอุด ผู้ใหญ่บ้านบ้านพาน  หมู่ที่4 ตำบลแงง  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน


  









Best Practice

 ( Best  Practice )
กศน.ตำบลแงง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว
การเพาะเห็ดนางฟ้า-นางรม
 สภาพทั่วไป/ลักษณะสำคัญ
      กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า-นางรม  บ้านหัวเมือง  หมู่ที่ 5 ตำบลแงง  อำเภอปัว  จังหวัดน่าน  เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1 ธันวาคม พ..2549  โดยการรวบรวมกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในหมู่บ้านหัวเมือง  เพื่อหวังจะได้มีอาชีพเสริมอยู่กับครอบครัว เนื่องจากราษฎรในหมู่บ้านได้ประสบภัยธรรมชาติ  เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ..2549 ได้มีน้ำท่วม  ดินโคลนถล่ม  ทำให้ไร่ นา สวน ที่ราษฎรทำเอาไว้ได้รับความเสียหาย  จึงมีความคิดจัดตั้งกลุ่มอาชีพขึ้นมา ชื่อกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าบ้านหัวเมือง  มีสมาชิกจำนวน 10 คน มีการระดมหุ้นคนละ 30 บาท เพื่อเป็นการสมทบทุนจัดตั้งกลุ่ม  ได้ทุนรวมเป็นเงิน 300 บาท และเมื่อวันที่  1 พฤศจิกายน พ.. 2549 ได้รับความอนุเคราะห์สนับสนุนจากหน่วยงานพัฒนาองค์กรภาคเอกชน (พอช.) กลุ่มฮักเมืองน่านสนับสนุนงบประมาณเป็นทุนดำเนินการ  จำนวน 20,000 บาท ซึ่งโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม  ฟื้นฟูประกอบอาชีพเสริม  และได้สร้างโรงเรือนขึ้นมา 1 โรงเรือน  คณะกรรมการได้จัดซื้อก้อนเห็ดมาพักในโรงเรือน จำนวน 1,500 ก้อนทำการเลี้ยงอยู่ประมาณ 60 วัน ผลผลิตออกมาขายได้เป็นเงิน 295 บาท ถือว่าขาดทุนเพราะขณะนั้นทางกลุ่มและสมาชิกไม่มีความรู้ในด้านการเพาะเห็ด  จึงไม่ประสบความสำเร็จ  เป็นผลให้ต้องมีการประชุมสมาชิกกลุ่มและขอมติที่ประชุมให้สมาชิกทุกคนสู้ต่อไป  หลังจากนั้นคณะกรรมการโดยการนำของนายอิ่นคำ  กุณรินทร์  ได้เข้าไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาสังคม  หน่วยที่ 25 จังหวัดน่าน  ส่วนแยกอำเภอปัว โดยคุณจรัญ  โนจิตร  เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯได้พาเข้าไปหานายจรัส  แซ่โคว้  หัวหน้าศูนย์ป่ากลาง  อนุเคราะห์งบประมาณให้เป็นทุนจำนวน 5,000 บาทและได้เงินสมทบอีก 5,000 บาท ได้ทุนรวมเป็นเงินจำนวน 10,000 การดำเนินงานเพาะเห็ดได้เริ่มทำขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ได้กำไรเป็นเงินจำนวน 2,500 บาท เริ่มมีทุนรวมเป็นเงิน 12,500 บาท หลังจากนั้นได้เสนอโครงการส่งไปศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 25 จังหวัดน่าน  และเสนอโครงการไปศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่านเพื่อช่วยเหลือด้านการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้าและทั้ง 2 หน่วยงานก็ได้ให้การตอบรับโครงการที่เสนอวันที่ 24 ธันวาคม พ.. 2549 ได้รับความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณในการอบรมการเพาะเห็ดนางฟ้า 30 วัน พร้อมวิทยากรให้ความรู้จากศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 25 จังหวัดน่าน เป็นจำนวนเงิน 56,700 บาท วันที่ 10 มกราคม ..2550 ได้รับการอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณ โครงการอบรมหลักสูตรเพาะเห็ดนางฟ้าพร้อมวิทยากรและอุปกรณ์การเรียน จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว  จังหวัดน่าน เป็นจำนวนเงิน 6,700  บาทนับว่าทั้ง 2หน่วยงาน ได้ให้การสนับสนุนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้วยดีตลอดมา

กิจกรรมของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง        
กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งกลุ่มทำโรงเรือนพักก้อนเชื้อเห็ด          
กิจกรรมที่ 2 ทำการอบรมการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก         
กิจกรรมที่ 3 ทำการอบรมวิธีการทำอาหารวุ้น PDA เลี้ยงเชื้อเห็ด          
กิจกรรมที่ 4 ทำการอบรมวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ          
กิจกรรมที่ 5 การตัดเย็บเสื้อผ้า          
กิจกรรมที่ 6 การเลี้ยงหมู  การผสมเทียม          
กิจกรรมที่ 7 การผลิตแก๊สชีวภาพแบบถุงหมัก พีวีซี่          
กิจกรรมที่ 8 การทำเตาชีวมวล  ประหยัดพลังงาน          
กิจกรรมที่ 9 การทำข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ          
กิจกรรมที่ 10 การทำข้าวเกรียบ          
กิจกรรมที่ 11 การทำน้ำหมัก  ปุ๋ยหมัก          
กิจกรรมที่ 12 การเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์

 ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
    การผลิตเชื้อเห็ด Potato Dextrose Agar ( PDA ) การผลิตเชื้อวุ้น หรือการแยกเชื้อเห็ด และการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์วิธีที่นิยมกันมากที่สุด คือการแยกเชื้อเห็ดที่บริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อของดอกเห็ด จะได้ผลที่ตรงตามพันธุ์เช่นเดียวกับการขยายพันธุ์พืช โดยการติดตา  การตอนกิ่ง การต่อกิ่ง ฯลฯ แต่มีวิธีการที่ซับซ้อนและละเอียดมาก มีกระบวนการทำอยู่ 3 ขั้นตอน           
- การทำอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ           
- การแยกเนื้อเยื้อเจริญของเห็ด           
- การขยายเนื้อเยื่อลงในเมล็ดธัญญาพืช    การทำอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ Potato Dextrose Agar ( PDA ) เป็นการเตรียมสูตรอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดที่มีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากจะมีขั้นตอนการทำอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีสูตรอาหารดังนี้                     
มันฝรั่ง   1  กิโลกรัมน้ำตาลแด๊กโตส    60 กรัม                     
วุ้น    45        กรัม                     
น้ำ    3,000   ซีซี

วิธีการทำอาหารวุ้น
             - นำน้ำจืดสะอาดไม่มีคลอรีน มาต้มกับมันฝรั่งหั่น ขนาดชิ้นละ 1 ลบ.ซม. ต้มจนเดือดใช้เวลาโดยประมาณ30นาที แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ
             - ผสมผงวุ้นชนิดผงหรือวุ้นชนิดเส้นลงในน้ำที่ต้มมันฝรั่ง กรองเฉพาะน้ำผสมให้เข้ากันแล้วเทใส่ลงในขวดแบนให้สูงจากก้นขวดประมาณ 1 ซม.
             - ใช้สำลีอุดปากขวดไม่ต้องแน่นมากนัก ใช้พลาสติกคลุมอีกชั้นเพื่อป้องกันสำลีเปียก
             - นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดันไอน้ำ ที่มีขนาด 14 หรือ 25 ปอร์น ใช้เวลา 25 - 35 นาที
             - นำมานอนเรียงให้หัวขวดยกขึ้นเพื่อไม่ให้อาหารวุ้นมาติดที่ปากขวดป้องกันเชื้อโรคเข้า

ขั้นการเตรียมและการทำอาหารวุ้น( พีดีเอ ) 
  
1. มันฝรั่ง Potat  น้ำตาลแด๊กโตส Dextrose   ผงวุ้น Agar   เป็นส่วนผสมในการทำอาหารของเห็ดบริสุทธิ์
2.หั่นมันฝรั่งให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด  1 ลบ.ซม. จำนวน 1 กก. นำไปต้มให้สุกกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำตาล  แด๊กโตส ผงวุ้น ตามสูตรใส่ขวดแบน
3.นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดันไอน้ำ ที่มีขนาด 14   หรือ 25 ปอร์น ใช้เวลาในการนึ่ง 25 35 นาที
4.นำขวดแบนสะอาดมานอนเรียงให้หัวขวดยกขึ้นเพื่อไม่ให้อาหารวุ้นมาติดที่ปากขวดป้องกันเชื้อโรคเข้าในอาหารวุ้นที่ใช้เพาะเชื้อ
5.เตรียมอาหารวุ้น (พีดีเอ) ที่นึ่ง พักไว้จนเย็น
6.คัดเลือกดอกเห็ดที่จะนำมาทำพันธุ์ ไม่ควรแก่ หรืออ่อนจนเกินไปและควรเลือดอกที่มีความสมบูรณ์
7.ฉีกหรือแยกเนื้อเยื่อของเห็ดให้เป็น ๒ ซีก  แล้วใช้เข็มเขี่ยที่ลนไฟจนเย็น
เขี่ยเนื้อเยื่อใจกลางของดอกหรือก้านดอก
8.นำเนื้อเยื่อที่เขี่ย นำมาวางบนกลางอาหารวุ้น PDAใช้ไฟลนปากขวดเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วใช้สำลีอุดจุกไว้
อย่างเดิมขั้นตอนนี้จะต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

การทำหัวเชื้อเห็ด
1. การทำหัวเชื้อจะต้องใช้เมล็ดข้าวฟ่าง ที่มีลักษณะเมล็ดที่สมบูรณ์ ทดสอบโดยการคัดเมล็ดที่จมน้ำ
2. นำเมล็ดข้าวฟ่างมาล้างให้สะอาด นำไปต้ม ในน้ำจนเดือด ใช้ไม้คนให้ทั่ว พอให้เมล็ดสุก หรือพองเล็กน้อย ไม่ควรให้เมล็ดข้าวแตกหรือพองมากเกินไป
3. นำไปผึ่งให้แห้ง นำขี้เลื่อยแห้งแห้งเข้าคลุกเพื่อไล่ความชื้น
4. กรอกใส่ขวดแบน ประมาณครึ่งขวดแล้วใช้สำลีอุดปากขวดใช้พลาสติกคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง
5. นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน  15-16 ปอร์น  ใช้เวลา 35 - 40  นาที แล้วนำออกมา ทิ้งไว้ให้เย็น ประมาณ 2 วันการทำหัวเชื้อจะต้องใช้เมล็ดข้าวฟ่าง ที่มีลักษณะเมล็ดที่สมบูรณ์ ทดสอบ โดยการคัดเมล็ดที่จมน้ำ
นำเมล็ดข้าวฟ่างมาล้างให้สะอาด นำไปต้ม ในน้ำจนเดือด ใช้ไม้คนให้ทั่วพอให้เมล็ดสุก หรือพองเล็กน้อย ไม่ควรให้เมล็ดข้าวแตกหรือพองมากเกินไปนำไปผึ่งให้แห้ง นำขี้เลื่อยแห้งแห้งเข้าคลุกเพื่อไล่ความชื้นกรอกใส่ขวดแบน ประมาณครึ่งขวดแล้วใช้สำลีอุดปากขวดใช้พลาสติกคลุมทับอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันความชื้นนำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน(ออโตเคลฟ)  15 - 16  ปอร์น  ใช้เวลา 35 - 40  นาที                    แล้วนำออกมา ทิ้งไว้ให้เย็น ประมาณ 1 วัน

ขั้นตอนการใส่เชื้ออาหารวุ้นลงเมล็ดข้าวฟาง
1.      ตรวจดูเมล็ดข้าวฟ่างในขวดแบนว่า ไม่มีเชื้อรา หรือมีกลิ่นเหม็นบูด หรือใช้วิธีการนำไปนึ่งใหม่ เพื่อให้แน่ใจ อีกครั้งว่าสะอาดปราศจากเชื้อโรค
2.      หัวเชื้อที่จะนำมาเขี่ยต้องอยู่ในสภาพเส้นใยเดินเต็มที่หรือแก่เต็มที่
3.      เขี่ยหัวเชื้อในตู้ปลอดเชื้อ โดยจะต้องมีเข็มเขี่ยที่ลนไฟให้เย็น ตัดชิ้นส่วนของอาหารวุ้นที่มีเส้นใยเจริญลงในขวดโดยผ่านการลนไฟ  ขนาดของเส้นใยที่เจริญ 1 X 1 ซม.
4.      ให้เส้นใยเจริญหัวเชื้อให้อยู่ตรงกลางของเม็ดข้าวฟ่าง นำสำลีมาอุดที่ปากขวด ห่อด้วยกระดาษ
5.      นำไปเก็บไว้ในห้องที่ไม่มีแสง และไม่มีฝุ่นละออง  อุณหภูมิประมาณ   20-25 องศาเซลเซียส  ทิ้งไว้ประมาณ  10  วัน
ตรวจดูเมล็ดข้าวฟ่างในขวดแบนว่า ไม่มีเชื้อรา หรือมีกลิ่นเหม็นบูด หรือใช้วิธีการนำไปนึ่งใหม่
เพื่อให้แน่ใจ อีกครั้งว่าสะอาดปราศจากเชื้อโรค
หัวเชื้อที่จะนำมาเขี่ยต้องอยู่ในสภาพเส้นใยเดินเต็มที่หรือแก่เต็มที่  เขี่ยหัวเชื้อในตู้ปลอดเชื้อ
 โดยจะต้องมีเข็มเขี่ยที่ลนไฟให้เย็น ตัดชิ้นส่วนของอาหารวุ้นที่มีเส้นใยเจริญลงในขวดโดยผ่านการลนไฟ ขนาดของเส้นใยที่เจริญ 1 X 1 ซม.

            การทำก้อนเชื้อ การทำก้อนเชื้อหรือการทำถุงเชื้อที่จะนำไปเพาะเป็นดอกเห็ด วัสดุที่ใช้เป็นหลักในส่วนผสม คือ    ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา  ไม้ก้ามปู   ไม้ขนุน  ไม้มะม่วง ไม้งิ้ว  ไม้มะกอก เป็นต้น ส่วนไม้ที่ไม่ได้กล่าวมาเป็นไม้เนื้อแข็งทำให้การหมักก้อนเห็ดย่อยสลายได้ยาก ขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อนนั้นนำมาใช้ได้เลย  แต่ใช้กับบางฤดูกาลเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ในฤดูฝนจะมีความชื้นมากจุลินทรีย์ต้องการอยู่ในขี้เลื่อยมาก  ทำให้เกิดความเสียหายของก้อนเห็ดสูง ควรแก้ไขโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพช่วยย่อยสลายจุลินทรีย์บางชนิดและเปลี่ยนเป็นอาหารเห็ดได้  สำหรับขี้เลื่อยไม้ยางพารานั้นสามารถใช้ได้เลยไม่ต้องทำการหมัก

ขี้เลื่อย  ไม่ควรมีเศษไม้ขนาดใหญ่ติดมาด้วยเพราะจะทำให้แทงถุงเพาะขาดเชื้อโรคจะเข้าได้ง่าย ควรทำการคัดหรือแยกออก อาจจะใช้ตาข่ายตากว้าง 1 เซนติเมตรร่อนแบบเดียวกับร่อนทราย นำขี้เลื่อยมาเทบนพื้นชีเมนต์หรือลานกว้างรดน้ำให้เปียกพอดี ทดสอบโดยการใช้มือบีบ ถ้าน้ำไหลออกมาจากร่องนิ้วเสดงว่าชื้นเกินไป แต่ถ้าบีบแล้วขี้เลื่อยแตกกระจายแสดงว่าแห้งไป ควรเป็นก่อนพอดี
การใส่อาหารเสริมในส่วนผสมในการทำก้อนเห็ดมักจะมีการผสมอาหารเสริมธาตุอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปเข้าไปด้วย  เพื่อเป็นอาหารให้กับเห็ดในการสร้างเส็นใยทำให้ได้ผลผลิตสูงในการเก็บดอกเห็ด
        แกลบอ่อนหรือรำละเอียด  เป็นการเสริมโปรตีน และวิตามินชี บี2ชึ่งเห็ดมีความต้องการมาก แต่ต้องใส่ในขนาดที่พอ ถ้ามากไปทำให้จุลินทรีย์ตัวอื่นมาแย่งกิน  น้อยไปเชื้อเห็ดก็นำไปใช้ไม่ได้เท่าที่ควร ควรใช้ในอัตรา 6 เปอร์เซ็นต์ จะได้ผลดี
       ปูนขาวและยิปซั่ม  เป็นการปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างให้กับเห็ด เพราะฤทธิ์ความเป็นกรดเป็นด่างทำให้ธาตุอาหารบางอย่างละลายออกมาทากเกินไป จนเกิดเป้นพิษต่อเห็ด ค่าระดับความเป็นกรดเป็นด่างควรอยู่ 5-52  ก็อยู่ในระดับกลางหรือกรดเล็กน้อย  ตามปกติปูนขาวมีฤทธิ์เป็นกรดอยู่แล้วไม่ควรใส่มาก ควรใส่ประมาณ1 เปอร์เซ็นต์  สำหรับ  ยิปซั่ม ใช้เพื่อปรับความเป็นด่างของก้อนเห็ด ทำให้มีฤทธิ์เป็นกลาง ส่วนมากจะใส่ปริมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักกองขี้เลื่อยที่ผสม
ดีเกลือ   มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวคล้ายกับน้ำตาล ในดีเกลือมีธาตุอาหารพวกแมกนีเชียมอยู่มาก ซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเจริญเติบได้ดี และเร่งการออกดอก ทำให้เห็ดมีก้านยาว หมวกดอกเล็ก โดยจะใส่ในปริมาณ ในวัสดุที่หมักในอัตราส่วน 0.2 เปอร์เซนต์ของปริมาณของวัสดุ
6.      ส่วนผสมอื่นๆ  ที่เป็นอาหารเสริมในการเจริญของดอกเห็ด

กากน้ำตาล ทำให้จุลิทรีย์ทำปฏิกิริยาสร้างอาหาร         
น้ำหมักชีวภาพ  เพิ่มจุลินทรีย์ในการสร้างเส้นใยเห็ดให้กับเส้นใยได้ดี

สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า - นางรม

ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน                   100              กิโลกรัม
รำละเอียด                                 7                 กิโลกรัม
ปูนขาว                                     2                  กิโลกรัม
ยิบซั่ม                                       2                 กิโลกรัม
ดีเกลือ                                      2                 ขีด
กากน้ำตาล                               1                 ลิตร
น้ำหมักชีวภาพ                         1                 ลิตร
น้ำ                                            8                  บัว

          ผสมส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันโดยใช้น้ำเป็นตัวผสม ใส่น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลผสมลงในน้ำ รดบนในกองขี้เลื่อยผสมให้ทั่วถึงสม่ำเสมอการผสมนั้น  จะใช้แรงงานคนหรือใช้เครื่องจักรกลก็ได้และให้ความชื้นพอดี  ทดสอบโดยการใช้มือบีบ ถ้าน้ำไหลออกมาจากร่องนิ้วเสดงว่าชื้นเกินไป  แต่ถ้าบีบแล้ว   ขี้เลื่อยแตกกระจายแสดงว่าแห้งไป บีบแล้วควรปั้นเป็นก้อนพอดี แสดงว่าใช้ได้ แล้วนำไปบรรจุถุงอัดต่อไป เทผสมส่วนผสมทุกอย่างให้เข้าใช้น้ำเป็นตัวผสมใส่น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลผสมลงในน้ำรดบนในกองขี้เลื่อยผสมให้ทั่วถึงสม่ำเสมอ( การผสมกองเห็ดแบบใช้แรงงานคนผสม)

การผสมกองเห็ดแบบใช้เครื่องจักรกล (เครื่องผสมอาหารสัตว์)
การบรรจุถุงอัดเห็ด
1.      ควรเป็นถุงพลาสติกที่ใช้สำหรับบรรจุโดยเฉพาะสามารถทนความร้อนได้
2.      มีขนาด 7x11.5 นิ้ว ความหนา 0.06-0.08 มิลลิเมตร
3.      ตักขี้เลื่อยใส่ถุงจนเกือบเต็มถุงชั่งน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม กดแล้วพอดีกับปากถุง
4.      อัดให้แน่นโดยใช้ขวดทุบไม่ต้องใช้แรงมาก ใช้แรงพอดี หรือใช้เครื่องอัดก่อนเห็ดใช้มือบีบก้อนเห็ดไม้อ่อนหรือแข็งเกินไปให้พอดี
5.      สวมคอขวด โดยเอด้านป้านลงดึงปากถุงให้ตึง
6.      เตรียมไปนึ่งฆ่าเชื้อแล้วพับเรียบลงตามคอขวด ถุงพลาสติกคุมรัดด้วยยางรัดให้แน่นจุดประสงค์ในการใส่คอขวดเพื่อการถ่ายเทอากาศ และใส่เชื้อลงไปในก้อนเห็ดได้ง่าย คอขวดสามารถใช้ได้หลายเชื้อครั้ง
7.      เตรียมนำไปนึ่งฆ่า
อัดก่อนเห็ดโดยใช้แรงคน                สวมพลาสติกรูปคอขวดไว้ด้าน           การอัดก้อนเห็ดโดยใช้เครื่องอัด
         (ใช้ขวดทุบ)                     ปากถุงดึงให้ตรึงใช้ถุงพลาสติกปิด
                                             ยางรัดให้แน่นหรือใช้จุกสำลีปิดไว้
การนึ่งฆ่าเชื้อ
          เป็นการฆ่าเชื้อโรคหรือเชื้อจุลินทรีย์ภายนอกที่มาปะปนกับวัสดุเพราะเชื้อโรคเหล่านี้จะมาแย่งอาหารเห็ด  บางครั้งก็เป็นอันตรายต่อเชื้อเห็ด ดังนั้นก่อนที่จะทำการเขี่ยเชื้อลงในก่อนเห็ดจึงต้องมีการทำลายเชื้อโรคเหล่านี้ให้หมดไปหรือให้น้อยลง การฆ่าเชื้อมีอยู่ 3 วิธี
          1.การฆ่าเชื้อด้วนหม้อนึ่งลูกทุ่ง ใช้ถัง 200 ลิตร ตัดปากออกทำตะแกรงด้านในให้สูงขึ้น 1ฟุต สามารถใส่น้ำลงไปได้ ตะแกรงด้านในต้องมีความแข็งแรงสามารถ วางก้อนเห็ดได้จำนวน 100  ก้อน นำกระสอบมาวางด้านข้างและคุมด้านบนเพื่อป้องกันความร้อนจากถังนึ่งกกระทบกับถุงก้อนเชื้อเห็ด ให้ใช้ระยะเวลานึ่งฆ่าเชื้อ 4 ชั่วโมงนับตั้งแต่ไอความร้อนขึ้นให้ความร้อนคงที่ตลอดจนถึง 4 ชั่วโมงจึงนำออกมาวางเรียงให้เย็น

          2. หม้อนึ่งความดันไอน้ำแบบตู้เหลี่ยม เหมาะสำหรับสำหรับฟาร์มเห็ดขนาดใหญ่  หรือทำก้อนเชื้อเห็ดขาย สามารถนึ่งเห็ดได้ครั้งละมากๆประมาณ 400-600 ก้อน  วัสดุที่ใช้ มีแทงค์ใส่น้ำขนาดใหญ่  ถัง 200 ลิตร ท่อเหล็กเพื่อนำไอน้ำเข้าสู่ก้อนเห็ด  ท่อระบายควันไฟ และทำชั้นวางก้อนเห็ด  ใช้ระยะเวลานึ่งฆ่าเชื้อ  4 ชั่วโมง นับตั้งแต่ไอความร้อนขึ้นให้ความร้อนคงที่ตลอดจนถึง 4 ชั่วโมงจึงนำออกมาวางเรียงให้เย็น
          3. หม้อนึ่งความดัน  หม้อนึ่งความดันโลหะที่ทนความร้อนและแรงกดที่ทนทานเป็นพิเศษผลิตจากต่างประเทศราคาสูงใช้แผ่นเหล็กขนาด 2 หุน ชื่อมต่อกันเป็นรูปทรงกระบอก มีเครื่องวัดความดันภายในหม้อนึ่ง มีลิ้นเปิดไอน้ำออกเพื่อระบายความร้อน (เซฟตี้)ป้องกันหม้อระเบิดหลังฝาด้านข้างมีน็อตที่ผสมตะกั่วพิเศษเพื่อล็อกกันความร้อนออก ใช้ระยะเวลา 50-60 นาทีในการนึ่ง   หม้อนึ่งความดันไม่ค่อยนิยมใช้กัน เพราะราคาแพง  นึ่งก้อนเชื้อเห็ดได้น้อยและต้องใช้เชื้อเพลิงจากเตาแก็ส  ค่อนข้างที่จะลงทุนสูง

ขั้นตอนการนึ่งหม้อนึ่งลูกทุ่ง
          อาจจะนึ่งเป็นแบบเดียวหรือแบบกลุ่มก็ได้ ให้นึ่งระยะเวลา 4 ชั่วโมงที่ อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส คือให้น้ำเดือดธรรมดา(พาสเจอร์ไรช์) มีขั้นตอนดังนี้                
          1. เตรียมก้อนเชื้อที่จะนำไปนึ่งตรวจสอบดู ฝาจุก  สำลีปิดปาก หรือใช้พลาสติกครอบคอขวดแทนก็ได้ รัดยางรัดให้แน่น
          2. เติมน้ำให้ปริมตะแกรง กะว่าให้ว่าระยะเวลา 4 5 ชั่วโมงน้ำไม่แห้งผนังของถังนึ่งบุด้วยกระสอบข้าวเพื่อป้องกันพลาสติกละลายติดกับโลหะที่ร้อนจัด
          3. เรียงก้อนเห็ดลงในหม้อนึ่งจนเต็มให้แน่นๆ บรรจุได้70-100ก้อนแล้วคุมด้วยกระสอบอีกชั้นคุมความร้อน
          4. ใส่เชื้อเพลิงให้หม้อนึ่งเดือดมีไอน้ำขึ้นจึงเริ่มนับเวลาให้ครบ 4 ชั่วโมง
          5.หลังจากทำการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ให้เอาก้อนเห็ดวางไว้ในที่สะอาด ใช้ผ้าหรือตาข่ายสีฟ้าคุมเพื่อป้องกันแมลงวันหรือแมลงหวี่เข้าไปไข่  ทิ้งไวให้เย็นเพื่อการเขี่ยเชื้อต่อไป


เตรียมก้อนเชื้อที่จะนำไปนึ่งตรวจสอบดู ฝาจุก                  เรียงก้อนเห็ดลงในหม้อนึ่งจนเต็มให้แน่นๆ
สำลีปิดปาก หรือใช้พลาสติกครอบคอขวดแทน                บรรจุได้70-100ก้อน แล้วคุมด้วยกระสอบ
ก็ได้ รัดยางรัดให้แน่น                                                         อีกชั้นคุมความร้อน
เติมน้ำให้ปริมตะแกรง กะว่าให้ว่าระยะเวลา                        ใส่เชื้อเพลิงให้หม้อนึ่งเดือดมีไอน้ำขึ้น
4 5 ชั่วโมง น้ำไม่แห้งผนังของถังนึ่ง บุด้วย                        จึงเริ่มนับเวลาให้ครบ 4 ชั่วโมง
กระสอบข้าว เพื่อป้องกันพลาสติกละลายติด
กับโลหะที่ร้อนจัด
 หลังจากทำการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ให้เอาก้อนเห็ดวางไว้ในที่สะอาด ใช้ผ้าหรือ ตาข่ายสีฟ้าคุมเพื่อป้องกันแมลงวันหรือแมลงหวี่เข้าไปไข่  ทิ้งไว้ให้เย็น

การเขี่ยเชื้อ
          1. สถานที่ในการเขี่ยเชื้อเป็นสถานที่สะอาดภายในสถานที่ต้องสะดวกต่อการทำงาน ควรมีพัดลมระบายอากาศเพื่อช่วยดูดและกระจายอากาศภาย
          2. วางก้อนเชื้อเห็ดเรียงกัน ประมาณ 25 ก้อน ต่อ เชื้อเห็ด 1 แบน
          3. ทำความสะอาดมือและเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
          4. เปิดปากถุงออกทุกถุงแล้วใช้เข็มเขี่ยเชื้อเห็ดให้แตกตัวออกจากกันแล้วใช้เข็มเขี่ย เขี่ยเชื้อเห็ดให้ลงถุงเท่าๆกัน ห้ามใช้มือจับเชื้อเห็ดใส่เด็ดขาด
          5. ปิดปากถุงโดยเร็วใช้กระดาษที่ทำความสะอาดโดยการนึ่งปิดทับอีกที แล้วรัดให้แน่นอีกครั้ง
          6. นำไปบ่มเชื้อในโรงเพาะ
วางก้อนเชื้อเห็ดเรียงกัน ประมาณ 25 ก้อน ต่อ เชื้อเห็ด 1 แบน เปิดถุงออก
เปิดปากถุงออกทุกถุงแล้วใช้เข็มเขี่ยเชื้อเห็ดให้แตกตัวออกจากกัน แล้วใช้เข็มเขี่ยเชื้อเห็ดให้ลงถุงเท่าๆกันห้ามใช้มือจับเชื้อเห็ดใส่ถุงเด็ดขาด

การบ่มก้อนเชื้อ
          1. หลังจากมีการเขี่ยเชื้อแล้ว นำก้อนเชื้อไปเก็บในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิปกติไม่ให้แสงแดดส่องถึงและไม่ให้ฝนสาด เส้นใยจะเดินได้ดีในที่แสงสว่างน้อย ในห้องไม่ควรมีลมโกรก และมีก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ สูง
          2. ทำชั้นวาง ให้ก้อนเชื้อวางซ้อน เรียงกันเป็นชั้นๆ เรียงกันจนเต็มใช้ปูนขาวโรยบริเวณโรงบ่มเชื้อเพื่อป้องกันแมลงศัตรูเห็ด
          3. หมั่นตรวจดูการเดินของเชื้อเห็ดทุกวัน ก้อนเชื้อไหนไม่เดิน หรือมีราดำ ราเขียว เข้าทำลาย ให้เอาออกหรือคัดทิ้งไกลจากโรงเรือน เพราะป้องกันการแพร่เชื้อ
          4. ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อทั้งหมด  45 วัน เส้นใยเห็ดจะเดินขาวเต็มก้อนเห็ดนำกระดาษที่ปิดออกนำเข้าโรงเพาะเก็บเกี่ยวผลผลิต

หลังจากมีการเขี่ยเชื้อแล้ว นำก้อนเชื้อไปเก็บใน                  ทำชั้นวาง ให้ก้อนเชื้อวางซ้อนเรียงกันเป็นชั้นๆ
โรงเรือนที่มีอุณหภูมิปกติ ไม่ให้แสงแดดส่องถึง                 เรียงกันจนเต็มใช้ปูนขาวโรยบริเวณโรงบ่มเชื้อ
และไม่ให้ฝนสาด  เส้นใยจะเดินได้ดีในที่แสงสว่าง             เพื่อป้องกันแมลงศัตรูเห็ด
น้อยในห้องไม่ควรมีสมโกรก และมีก๊าชคาร์บอน-
ไดออกไซด์สูง
โรงเรือนเปิดดอกสำหรับเปิดดอกเห็ด

โรงเรือนเพาะ
          1. โดยมากจะสร้างโรงเรือนขนาด 4x6 เมตรบรรจุได้ 1000 ก้อนหรือ   6x6 เมตร บรรจุได้ 1500ก้อนหรือ 8x16 เมตรบรรจุได้1800ก้อน หรือ 8x20 เมตรบรรจุได้ 2000 ก้อน
          2. โครงสร้าง 2 แบบ คือ
  
    แบบชั่วคราว วัสดุที่ทำส่วนมาคือวัสดุธรรมชาติ                แบบถาวร  วัสดุที่ใช้มีการลงทุนสูง แต่ระยะ
  ไม่ไผ่  หญ้าคา ตอก ผ้ากันแสงแดด  มีการลงทุน                 เวลาใช้งานนานคงทน
  ไม่มาก แต่ระยะเวลาใช้งานคอนข้าสั้นไม่นาน
   ประมาณ 3-4 ปี

ชั้นวางก้อนเชื้อเห็ด
          1.ชั้นวางแบบเป็นชั้นๆ นิยมใช้ไม่ไผ่ทำต่อกันด้านข้างทำลักษณะลาดเอียงเป็นชั้นๆ หันก้นก้อนเห็ดติดฝา  หรือทำเป็นรูปตัว เอ (A) เป็นทรงสามเหลี่ยมหันก้นก้อนเห็ดชนกัน
2. แบบแขวน ใช้กับโรงเรือนที่มีพื้นที่จำกัดแต่ก้อนเชื้อเห็ดมีจำนวนมากแขวนแถวละ 15 ก้อน ใช้เชือกไน่ลอน4 เส้น ถ่างออกจากกัน เป็นตัวแขวนแล้วใช้ลวดเป็นตัวยึดแต่ละก้อน ข้อดี คือป้องกันศัตรูเห็ดได้ดี ข้อเสียคือวัสดุที่ใช้มีราคาแพง

ชั้นวางแบบเป็นชั้นๆ                                                          แบบแขวน

ขั้นตอนในการนำถุงก้อนเห็ดเข้าโรงเรือนเพาะ
การเตรียมก้อนเชื้อเห็ด
          1. เปิดจุกสำลีให้ออกเพื่อให้ดอกเห็ดออกที่ปลายปากถุง และให้ละอองน้ำกับเชื้อเห็ดทางปากถุง
          2. นำคอขวดออกแล้วพับปากถุง
          3.กรีดระหว่างคอถุงด้านล่างของก้อนเชื้อเห็ดเพื่อป้องกันน้ำขังในก้อนเห็ด ประมาณ 6-8  ซม.

การให้น้ำ
          การให้น้ำควรให้แบบฝอย ไม่ควรรดหน้าเห็ดโดยตรงเพราะไปทำลายเห็ดอ่อนที่กำลังจะออก ควรรดบริเวณด้านข้าง ด้านบน ของโรงเรือน เพื่อให้เกิดความชื้นภายในโรงเรือน น้ำมีค่า ความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 7  ออกเปรี้ยวเล็กน้อย
          น้ำประปาที่จะใช้รดควรใส่ภาชนะตากแดด 1-2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกให้หมดก่อน จึงนำมาใช้ได้ ในช่วงฤดูแล้งควรให้น้ำ 3-4 ครั้งต่อวัน ฤดูฝนควรให้น้ำ 1-2 ครั้งต่อวัน

การดูแลดอกเห็ด
          เมื่อเห็ดออกดอกออกมาไม่ควรหรือหลีกเลี่ยงการ รดดอกเห็ดโดยตรงแบบแรงๆ เพราะจะทำให้ดอกเห็ดเกิดอาการบวมน้ำ หรือ อาการซ้ำของดอกเห็ด ควรรดบริเวณด้านข้างหรือด้านหลังก้อนเห็ดหรือให้แบบละอองเป็นฟอยให้เกิดมีความชื้นก็พอ การเก็บดอกเห็ดให้ใช้มีดตัดโคนเห็ดที่ต้องการห้ามดึงออกเพราะจะทำให้หน้าเห็ดเสียหาย ควรเก็บเวลาเช้ามืด
3.      ผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
1.      สมาชิกกลุ่มมีรายได้เสริมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.      มีการรวมกลุ่มสร้างความสามัคคี  ความเข้มแข็งให้กับตนเอง  ชุมชนและสังคม
3.      มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน
4.      เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน  และที่อื่นๆที่สนใจเรียนรู้
5.      ร่องรอย  หลักฐาน การพัฒนา  ที่นำไปสู่เป้าหมาย
-          หน่วยงานต่างๆ   ชุมชน  กลุ่มผู้สนใจ มาศึกษาดูงาน
นายอิ่นคำ  กุณรินทร์ วิทยากรให้ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ถ่ายรูปหมู่หลังจากปิดการอบรม
เข้าอบรมและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

สมาชิกกลุ่มตั้งคณะทำงาน  รับผิดชอบตาม กิจกรรม และงานต่าง ๆตามที่ได้รับมอบหมาย
                        
ปัจจัยที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ
      1. มีความเสียสละ  ความสามัคคี
      2. มีความซื่อสัตย์และความโปร่งใสของกลุ่ม
      3. สมาชิกกลุ่มเข้าใจถึงวิธีการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
      4. มีความอดทน อดทนต่อสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานที่ได้รับ
มอบหมาย พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของประธานกลุ่ม หรือเพื่อนร่วมงาน อดทนกับคำพูดจา ดูถูก สบประมาท
      5. รักงานที่ทำเรามีความสุขกับงานที่ทำ
      6.ปัญหาและอุปสรรค

ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเปิดดอก
1. เชื้อเห็ดเดินเต็มถุงแล้วไม่ออก
2. เชื้อเห็ดเดินเต็มที่แล้ว ดอกเห็ดออกช้า ผลผลิตต่ำ
3. ลักษณะดอกผิดรูป
4. ดอกมีสีดำคล้ำ
5. ดอกเหี่ยวเฉาตายเอง